การแต่งตั้ง โซลชา ของ แมนฯยูฯ เป็นคำเตือนสำคัญต่อสโมสรทั่วโลก

การแต่งตั้ง โซลชา ของ แมนฯยูไนเต็ด

เมื่อ โอเล่ กุนนาร์ โซลชา ได้รับการแต่งตั้งในฐานะผู้จัดการทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นการถาวรในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เกือบทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสโมสรต่างก็รู้สึกยินดี โดยกุนซือชาวนอร์เวย์ ซึ่งเป็นตำนานในฐานะผู้เล่น “ปีศาจแดง” นั้น คว้าชัยชนะใน 6 เกมแรกของเขา และยังไม่แพ้ใครอีก 6 เกมต่อมา

“ผมไม่สนใจเลยกับการวิจารณ์ของกูรู” โซลชา อธิบายสั้นๆ ซึ่งนี่แสดงให้เห็นว่า โค้ชวัย 46 ปี มีจิตวิญญาณของ แมนฯยูไนเต็ด ในฐานะลูกทีมของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ตำนานผู้จัดการทีม “ปีศาจแดง” อย่างเต็มเปี่ยม และเห็นได้ชัดว่า โชเซ่ มูรินโญ่ อดีตเทรนเนอร์ชาวโปรตุเกส ไม่สามารถทำได้

บรรดาผู้เล่นของ แมนฯยูไนเต็ด ชอบที่ โซลชา เข้ามาคุมทีม เพราะพวกเขารู้สึกผ่อนคลายมากกว่าการคุมทีมที่เข้มงวดในยุคของ มูรินโญ่ ในขณะที่ เอ็ด วู้ดเวิร์ด รองประธานบริหาร “ปีศาจแดง” ก็ยินดีที่ โซลชา ได้รับความนิยมจากทั้งนักเตะและแฟนบอล

อย่างไรก็ตาม เมื่อฤดูกาลใหม่ผ่านไป 9 เกม แมนฯยูไนเต็ด กลับทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ด้วยการอยู่ในอันดับ 14 ในตารางคะแนน และเก็บได้เพียง 10 คะแนน โดยมีแต้มเหนือโซนตกชั้นเพียง 2 คะแนนเท่านั้น ซึ่งหลายคนเริ่มมองว่ามันเป็นความผิดพลาดของ วู้ดเวิร์ด ที่ดึง โซลชา มาคุมทีม

มันเป็นความจริงทางสถิติว่าการเป็นนักฟุตบอลที่ดีไม่ได้ทำให้คุณเป็นผู้จัดการทีมที่ดีเสมอไป เมื่อ วู้ดเวิร์ด เลือกที่แต่งตั้ง โซลชา เขาจะต้องยอมรับกับความเป็นจริง และควรเรียนรู้จากความรู้สึกของผลงานที่ผ่านมา

ผู้จัดการทีมในยุคเก่าหลายคน มักจะก้าวขึ้นมาจากการเป็นอดีตนักเตะชื่อดัง และพวกเขารู้ว่าหากสโมสรเลือกใครสักคนที่มีโปรไฟล์แบบนั้น พวกเขาจะไม่ถูกตำหนิมากนัก แม้ว่าพวกเขาจะทำผลงานได้ล้มเหลวก็ตาม

ย้อนกลับไปในปี 1995 สเตฟาน ซีมานสกี้ ผู้เขียนหนังสือ Soccernomics ได้ทำการศึกษาผู้จัดการทีมจำนวน 209 คน ในฟุตบอลอังกฤษตั้งแต่ปี 1974 ถึง 1994 กล่าวว่า “ผมดูที่อาชีพนักฟุตบอลของผู้จัดการทีมแต่ละคน ก่อนอื่นในฐานะที่ผู้เล่น รวมถึงจำนวนเกมที่เล่น ประตูที่ทำได้ ตำแหน่งในสนาม การลงเล่นในต่างประเทศ จำนวนสโมสรที่เล่นให้ จากนั้นก็ดูประสบการณ์ในฐานะผู้จัดการทีม และอายุขณะที่อยู่ในการบริหารจัดการทีม”

“ประวัติศาสตร์การเล่นไม่ได้ให้แนวทางอะไรเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นกองหลัง และผู้รักษาประตูมาก่อน พวกเขาจะทำผลงานได้ไม่ดีนัก ผู้จัดการทีมส่วนใหญ่ที่เคยเล่นเป็น มิดฟิลด์และกองหน้า จะประสบความสำเร็จมากกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย”

อดีตผู้เล่นชื่อดังบางคน เช่น เคนนี่ ดัลกลิช และทุกวันนี้ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า และ ซีเนอดีน ซีดาน ทำได้ดีในฐานะผู้จัดการทีม ส่วนคนอื่นๆอย่าง บ็อบบี้ มัวร์ ,ดิเอโก้ มาราโกน่า และ เธียร์รี่ อองรี กลับทำผลงานได้ล้มเหลว

โดยรวมแล้วอาชีพที่ดีในฐานะผู้เล่นนั้น ไม่สามารถทำนายความสำเร็จ หรือความล้มเหลวในฐานะผู้จัดการทีมได้ งานทั้งสองอย่างดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันมากนัก อาริโก ซ้าคคี่ ไม่ได้เป็นนักเตะที่โด่งดังนัก แต่เขาประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในฐานะ กุนซือ เอซี มิลาน โดยเขาระบุว่า “คุณไม่จำเป็นต้องเป็นม้า เพราะคุณจะเป็นจ๊อคกี้แล้ว”

ความรู้ของม้า ไม่ได้ช่วยให้จ๊อคกี้เก่งขึ้นเลย โดยอดีตกุนซือ คนหนึ่ง อธิบายว่า “ผมได้งานแล้ว และในวันแรกที่ผมปรากฏตัว พร้อมกับผู้ช่วยฯ ผมเข้าไปในห้องทำงานสำนักงานของผู้จัดการทีมพร้อมกับโทรศัพท์หนึ่งเครื่อง”

“ผมไม่รู้ว่าตัวเองควรจะเริ่มต้นที่ไหน ผมรู้เกี่ยวกับฟุตบอล ผมสามารถทำสิ่งต่างๆในสนาม แต่ผมไม่เคยทำงานในออฟฟิศ ผมแค่นั่งที่นั่น และรอสิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครเข้ามาเลย หลังจากนั้นครู่หนึ่งผมก็หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาแล้วโทรหาแม่ของผม”

แม้เทรนเนอร์รายนี้อ้างว่าตัวเองรู้เรื่องฟุตบอล และก็สามารถทำสิ่งต่างๆในสนามได้ มันก็น่าสงสัยว่า มาราโดน่า รู้เรื่องฟุตบอลมากกว่า โชเซ่ มูรินโญ่ ไหม? และสิ่งที่ รอย คีน ทำบนสนามให้กับ แมนฯยูไนเต็ด ทำให้เขาเป็นกุนซือที่ประสบความสำเร็จหรือไม่

มูรินโญ่ ยังคงอยู่ในกลุ่มโค้ชที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์วงการฟุตบอล และเมื่อ คาร์โล อันเชล็อตติ อดีตกุนซือ มิลาน กล่าวว่าสถิติในการเป็นนักเตะของโค้ชโปรตุเกสนั้น แทบไม่มีเลย แต่ มูรินโญ่ ก็ไม่ในสนใจคำวิจารณ์เหล่านั้น

ถามว่าทำไมผู้เล่นที่ล้มเหลวมักจะกลายเป็นโค้ชที่ดี มูรินโญ่ กล่าวว่า “พวกเขามีเวลามากขึ้นในการศึกษาฟุตบอล พวกเขายังต้องการแสดงออกบางอย่างว่าพวกเขาเป็นโค้ชที่ดี เพราะไม่มีใครจะจ้างพวกเขาสมัยเป็นนักฟุตบอลอาชีพ”

โซลชา ได้รับการแต่งตั้งในฐานะผู้จัดการทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

อย่างไรก็ตาม อันเชล็อตติ ซึ่งเป็นอดีตกองกลางที่เก่งกาจในยุคของ ซ้าคคี่ ที่ มิลาน ดูเหมือนว่าเขาจะเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณของการเป็นผู้เล่นมาก่อน โดย ซ้าคคี่ เล่าว่า “คาร์โล บอกผมในสมัยที่เขายังคุม เรอัล มาดริด ในปี 2013 ว่าประสบการณ์ในฐานะผู้เล่นสามารถช่วยคุณได้ในสถานการณ์เดียวกัน เขาเข้าใจว่าผู้เล่นกำลังคิดอะไร แต่งานนั้นแตกต่างกัน คุณต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นผู้จัดการทีม”

ในประเทศเยอรมนีนั้น อดีตผู้เล่นหลายคนไม่ได้เป็นผู้จัดการทีม เพราะในหลักสูตรการฝึกอบรมประจำปีของสหพันธ์ฟุตบอลเยอรมันเพื่อรับรองโค้ชมืออาชีพปัจจุบันมี 16 แห่ง จาก 24 แห่งที่สงวนไว้สำหรับผู้ที่ไม่ได้เล่นฟุตบอลเป็นอาชีพ

โค้ชชาวเยอรมันที่ประสบความสำเร็จในปี 2019 อย่าง โยอาคิม เลิฟ ผู้จัดการทีมชาติเยอรมัน ซึ่งเคยเล่นไป 52 เกมในบุนเดสลีกา, โทมัส ทูเคิ่ล ของ ปารีส แซงต์ แชร์กแมง เล่นไป 8 เกม ในลีก 2 ของเยอรมัน และ จูเลียน นาเกิลส์มัน ของ แอร์เบ ไลป์ซิก ผู้ที่ไม่เคยลงเล่นฟุตบอลอาชีพมาก่อน

อดีตนักเตะชื่อดัง แมนฯยูไนเต็ด อย่าง โซลชา, ไบรอัน ร็อบสัน, รอย คีน, แกรี่ เนวิลล์, พอล สโคลส์,สตีฟ บรูซ และ ยาป สตัม เคยได้รับการถ่ายทอดทักษะการคุมทีมจาก เฟอร์กูสัน ในฐานะผู้เล่น แต่เมื่อพวกเขาเป็นผู้จัดการทีมแล้วก็ไม่มีใครที่ประสบความสำเร็จ

แม้แต่ความตั้งใจอันแรงกล้าของ โซลชา ที่ทำให้ผู้เล่นของเขามีอิสระในสนามมากกว่า มูรินโญ่ ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณที่ดีนัก มูรินโญ่ เป็นผู้จัดการทีมชั้นยอด แต่ โซลชา ยังไม่มีโปรไฟล์ขาดนั้น วิธีการเดิมมีแนวโน้มที่จะปรับปรุงสโมสรได้ ในขณะที่วิธีหลังให้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น แต่ละคนมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป

หนึ่งสโมสรที่มีแนวทางวิธีการเลือกผู้จัดการทีม ก็คือ อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม ซึ่งเคยยึดติดกับความคิดที่ว่ามีเพียงผู้เล่น อาแจ็กซ์ ในอดีตเท่านั้นที่รู้วิธีการบริหารสโมสร แต่หลังจากความล้มเหลวหลายปี พวกเขาแต่งตั้ง ปีเตอร์ บอสซ์ ได้เข้ามาคุมทีม ก่อนที่โค้ชวัย 55 ปี จะพา อาแจ็กซ์ เข้าไปชิงฯถ้วย ยูโรป้า ลีก ในปี 2017

แต่เมื่อ บอสซ์ อำลาสโมสร อาแจ็กซ์ แทนที่เขาด้วย มาร์เซล ไคเซอร์ อดีตนักเตะของพวกเขา แต่ ไคเซอร์ ก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ก่อนจะโดนปลดจากตำแหน่งและได้ประกาศแต่งตั้ง เอริก เทน ฮาก เข้ามากุมบังเหียนแทน

เห็นได้ชัดว่า เทน ฮาก ได้รับประโยชน์จากช่วงเวลาที่เหมาะสมของ อาแจ็กซ์ เพราะในทีมชุดนี้มีผู้เล่นอย่าง ดูซาน ทาดิช, ฮาคิม ซิเย็ค และ ดาลี่ย์ บลินด์ ซึ่งคุณภาพของผู้เล่นนั้น สำคัญกว่าคุณภาพของผู้จัดการทีมเสมอ และ เทน ฮาก ก็ใส่สไตล์การเล่นที่ยอดเยี่ยมลงไปจนพา อาแจ็กซ์ เข้าถึงรอบรอนะเลิศยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก เมื่อปีที่แล้ว

เทน ฮาก คิดนอกกรอบ เขาไม่ได้แบ่งสนามออกเป็น 3 โซนตามปกติ ซ้าย, กลาง, ขวา แต่เขาแบ่งเป็น 5 โซน เหมือน กวาร์ดิโอล่า ซึ่งคิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดว่าผู้เล่นคนไหนควรอยู่ในโซนใด และเมื่อใดควรป้องกันส่วนที่เหลือ มันหมายถึงจำนวนผู้เล่นที่จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 โซนการป้องกันกองกลางจากช่วงเวลาที่ทีมเสียบอล

อาแจ็กซ์ มีนักเตะ 3 คน คุมโซนอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมทีมที่เน้นเกมรุกแบบพวกเขา จึงไม่ค่อยประหลาดใจนักที่โดนคู่แข่งเล่นเคาน์เตอร์แอทแทค และ เทน ฮาก ได้สอนศิลปะการป้องกันของในแดนฝ่ายตรงข้ามให้กับผู้เล่นของเขาอีกด้วย

ในระยะยาวสโมสรที่กล้าหาญมากพอที่จะแต่งตั้งกุนซืออย่าง เทน ฮาก และ นาเกิลส์มัน ที่อาจจะถูกได้เปรียบกับ แมนฯยูไนเต็ด ที่แต่งตั้ง โซลชา ซึ่งทางเลือกในระยะสั้นนั้น การแต่งตั้งอดีตผู้เล่นยอดนิยมจะเป็นทางเลือกที่ง่ายกว่าเสมอ

แมนฯยูไนเต็ด ที่แต่งตั้ง โซลชา